เมนู

เป็นผู้เคร่งครัดในวินัยไม่ง่อนแง่น 1 เป็นผู้สามารถเพื่ออันยังอยู่คู่ความ
ทั้งสองฝ่ายให้ยินยอม ให้ตรวจดู ให้เห็นเหตุผล ให้เลื่อมใสได้ 1 เป็น
ผู้ฉลาดในการยังอธิกรณ์อันเกิดขึ้นให้ระงับ 1 รู้อธิกรณ์ 1 รู้เหตุเป็นที่
เกิดขึ้นแห่งอธิกรณ์ 1 รู้ความดับแห่งอธิกรณ์ 1 รู้ทางปฏิบัติเป็นเครื่อง
ถึงความดับอธิกรณ์ 1 ดูก่อนอุบาลี ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 10 ประการ
นี้แล สงฆ์พึงสมมติเพื่อให้เป็นผู้รื้อฟื้นอธิกรณ์.
จบอุพพาหสูตรที่ 3

อรรถกถาอุพพาหสูตรที่ 3


อุพพาหสูตรที่ 3

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า อุพฺพาหิกาย ได้แก่ เพื่อประโยชน์แก่การชักขึ้นยกขึ้นไว้
เพื่อระงับอธิกรณ์ที่มาถึงแล้ว. บทว่า วินเย โข ปน ฐิโต โหติ ได้แก่
เป็นผู้ตั้งอยู่ในลักษณะแห่งวินัย. บทว่า อสํหิโร ได้แก่ ไม่ละทิ้งลัทธิของ
ตนด้วยเหตุเพียงคำพูดของบุคคลอื่น. บทว่า ปฏิพโล ได้แก่ ประกอบด้วย
กำลังกายบ้าง กำลังความรู้บ้าง. บทว่า สญฺญาเปตุํ ได้แก่ ให้ยินยอม.
บทว่า นิชฺฌาเปตุํ ได้แก่ ให้เพ่งดู. บทว่า เปกฺขาตุํ ได้แก่ ให้เห็น. บทว่า
ปสาเทตุํ ได้แก่ กระทำให้เกิดความเลื่อมใสเอง. บทว่า อธิกรณํ ได้แก่
อธิกรณ์ 4 มีวิวาทาธิกรณ์เป็นต้น. บทว่า อธิกรณสมุทยํ ได้แก่ เหตุ
เกิดอธิกรณ์มีมูลวิวาทเป็นต้น. บทว่า อธิกรณนิโรธํ ได้แก่ ระงับอธิกรณ์.
บทว่า อธิกรณนิโรธคามินีปฏิปทํ ได้แก่ อธิกรณสมถะ 7 อย่าง.
จบอรรถกถาอุพพาหสูตรที่ 3